“จากทหารมหาดเล็กสู่นายร้อยพระจุลจอมเกล้า”
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2023/01/Picture1-1.jpg)
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔
(ปีครองราชย์ พ.ศ. ๒๓๙๔ – ๒๔๑๑)
มีการจัดตั้ง “กรมทหารหน้า”ซึ่งพัฒนามาจากกรมเกณฑ์หัดอย่างยุโรปเดิมทำหน้าที่รักษาพระนครและพระราชอาณาเขต
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่๕
(ปีครองราชย์ พ.ศ. ๒๔๑๑ – ๒๔๕๓)
เริ่มมีการฝึกหัดทหารตามยุทธวิธีแบบใหม่ อย่างไม่เป็นทางการ ตั้งแต่ปีแรกที่เสด็จขึ้นครองราชย์จากการฝึกหัดทหารมหาดเล็กและอีก ๒ ปีต่อมา มีการจัดตั้งโรงเรียนอย่างจริงจัง
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2023/01/Picture2.jpg)
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2023/01/Picture5.jpg)
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2023/01/Picture3.jpg)
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2023/01/Picture4.jpg)
พ.ศ. ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ขึ้นครองราชย์
และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ฝึกทหารมหาดเล็กตามแบบอย่างทหารยุโรป มีอยู่ ๒๔ คน โดยรับสมัครจาก
เด็กวัยประมาณ ๑๐ ขวบขึ้นไปที่เป็นเชื้อพระวงศ์ และเป็นบุตรของข้าราชบริพารเข้ามาศึกษา
เรียกว่า “ทหารมหาดเล็กไล่กา”
ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาทางทหารยุคใหม่ ซึ่งขณะนั้นคนไทยส่วนใหญ่ ยังไม่ส่งเสริมให้บุตรหลานเป็นทหาร
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2023/01/Picture6.jpg)
พุทธศักราช ๒๔๑๓ จัดตั้ง
“กองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์”
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ ให้ พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต)
จัดตั้ง “กองทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์” เป็นกองทหารที่มีการฝึกทหารมหาดเล็กตามยุทธวิธีแบบใหม่พร้อมกับ
ตั้งโรงเรียนสอนภาษาไทยให้ความรู้วิชาสามัญแก่ทหารมหาดเล็กด้วย
ใช้เวลาศึกษา ๒ ปี นักเรียนเหล่านี้นอนตามระเบียงวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2023/01/1.jpg)
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2023/01/2.jpg)
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2023/01/3.jpg)
พุทธศักราช ๒๔๓๐
“กำเนิดกรมยุทธนาธิการและ
โรงเรียนทหารสราญรมย์”
๘ เมษายน พ.ศ. ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
โปรดเกล้า ฯ ให้ตั้ง “กรมยุทธนาธิการ” ขึ้น เป็นการจัดการทหารแบบใหม่
(กรมนี้มีฐานะเทียบเท่ากับกระทรวงกลาโหมในปัจจุบัน)
กรมยุทธนาธิการ ทำหน้าที่กำกับดูแลกรมทหารบกและกรมทหารเรือทั้งหมด ขึ้นตรงต่อ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช
เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ผู้บังคับบัญชาการทั่วไป กรมยุทธนาธิการ (เทียบได้กับตำแหน่งเสนาบดี)
พ.ศ. ๒๔๓๐ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอเจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช จัดตั้งโรงเรียนสอนวิชาทหารสำหรับทหารบกทั่วไปขึ้น
เรียกว่า “คะเด็ตสคูล” สำหรับนักเรียน เรียกว่า“คะเด็ต” โดยมีนายพันเอกนิคาล วอลเกอร์ เป็นผู้บังคับการคนแรก
ต่อมาในปีเดียวกันได้เปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนทหารสราญรมย์ มีพระยาสีหราชเดโชชัย เป็นผู้บังคับการ
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ ทรงกระทำพิธีเปิดโรงเรียน เมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม ปีพุทธศักราช ๒๔๓๐
(ปัจจุบันโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้ยึดถือเป็นวันพระราชทานกำเนิดของโรงเรียนตลอดมาของทุกปี)
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2024/03/03-1024x1024.jpg)
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2024/03/1-27.jpg)
พ.ศ. ๒๔๓๕ โปรดเกล้าฯ ให้โรงเรียนนายสิบมาสมทบด้วยและเปลี่ยนเป็นโรงเรียนสอนวิชาทหาร
พ.ศ. ๒๔๔๖ มีผู้สนใจเข้ารับการศึกษาเพิ่มมากขึ้น จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายนักเรียนนายสิบไปสังกัดกองพลทหารบกตามเดิม
และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนอีกครั้งเป็น โรงเรียนทหารบก เมื่อวันที่ ๒๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๔๖
พ.ศ. ๒๔๔๙ โปรดเกล้าฯ ให้แยกเป็น โรงเรียนนายร้อยชั้นปฐมและมัธยม
พ.ศ. ๒๔๕๒ โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมยุทธศึกษา
พ.ศ. ๒๔๕๗ โปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่อเป็น กรมยุทธศึกษาทหารบก
พ.ศ. ๒๔๖๓ โปรดเกล้าฯ ให้รวมโรงเรียนชั้นปฐมและมัธยมเป็นโรงเรียนเดียวกัน และเปลี่ยนชื่อเป็น โรงเรียนนายร้อยทหารบก
พ.ศ. ๒๔๗๖ โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียน เท็ฆนิคทหารบก
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2024/03/20-__2486.jpg)
พุทธศักราช ๒๔๘๕
“หลักสูตรนักเรียนนายร้อยหญิง”
ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ ๒ มีการเปิดหลักสูตรนักเรียนนายร้อยหญิง
เพื่อสนองตอบนโยบายส่งเสริมสิทธิ สตรีของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม
(พ.ศ. ๒๔๘๑ – ๒๔๘๗) และจัดตั้งกองทหารหญิง มีผู้สมัครเข้าเรียนจำนวน ๒๘ คน
หนึ่งในนั้นคือ นางสาวจีรวัสส์ พิบูลสงคราม บุตรสาวของ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
แต่เปิดสอนใน พ.ศ. ๒๔๘๖ ได้เพียงรุ่นเดียวก็เลิกไป เนื่องจากเปลี่ยนแปลงนโยบาย
พุทธศักราช ๒๔๘๗
“โรงเรียนนายร้อยป่าแดง“
ประเทศไทยตกอยู่ในสงครามมหาเอเชียบูรพา
กรุงเทพฯ ถูกโจมตีทางอากาศอย่างต่อเนื่อง จึงมีการเคลื่อนย้ายนักเรียนนายร้อย
ในสังกัดกรมยุทธนาธิการทหารบก จากถนนราชดำเนินนอกไปยัง จ.เพชรบูรณ์
ที่โรงเรียนชั่วคราวที่ ต.บ้านป่าแดง จ.เพชรบูรณ์ จนกระทั่งเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๘๘
จึงได้รับคำสั่งให้เคลื่อนย้ายไปสู่ จ.พระนครศรีอยุธยา ยกเว้นนักเรียนนายร้อยทหารบก
ชั้นปีที่ ๓ กลับไปเรียนที่ตั้งเดิมถนนราชดำเนินนอก
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2024/03/unnamed-1.jpg)
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2024/03/5253f48c78177573140c0edaafa3dc22.jpg)
๑ มกราคม ๒๔๙๑
มีพระราชโองการในพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ขนานนาม โรงเรียนนนายร้อยทหารบก ว่า
“โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า”
Chulachomklao Royal Military Academy
เพื่อเป็นอนุสรณ์และเฉลิมพระเกียรติในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จ
พระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงเป็นผู้ก่อกำเนิด
และได้ดำเนินกิจการเป็นประโยชน์แก่ประเทศมาด้วยดี
ในปีเดียวกันนี้ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เริ่มใช้หลักสูตร ๕ ปี
ตามแบบหลักสูตรของโรงเรียนนายร้อยทหารบกสหรัฐอเมริกา (West Point)
นักเรียนนายร้อยที่เข้าเรียนใน พ.ศ. ๒๔๙๑ ถือเป็นนักเรียนนายร้อยโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า รุ่นที่ ๑
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2023/01/17-removebg-preview.png)
“หลักสูตรการเรียนการสอนของนักเรียนนายร้อย”
ส่วนการศึกษา โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2023/01/crma3.jpg)
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2024/03/425924-1024x786.jpg)
![](http://museum.crma.ac.th/wp-content/uploads/2023/01/326513211_677824980694499_1104255328147582978_n-1024x768.jpg)