“ศิษย์เก่าที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี”
ปัจจุบันมีทั้งหมด 11 ท่าน
จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์
นายกรัฐมนตรีคนที่ 11
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์
นายกรัฐมนตรีคนที่ 15
พลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ
นายกรัฐมนตรีคนที่ 17
พลเอก สุจินดา คราประยูร
นายกรัฐมนตรีคนที่ 19
พลเอก สุรยุทธ์ จุลานนท์
นายกรัฐมนตรีคนที่ 24
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรีคนที่ 29
“ครู อาจารย์ ผู้เป็นต้นแบบของนักเรียนนายร้อย”
สมเด็จพระราชปิตุลาบรมพงศาภิมุข
เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช
ทรงเป็นปูชนียบุคคลที่มีความสำคัญยิ่ง ด้วยทรงมีพระปรีชาสามารถและ
มีพระอิจฉริยภาพหลายด้าน กอปรกับการที่ทรงประกอบพระราชกิจในด้านต่างๆ
จึงเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยในการปฏิบัติราชการแทนพระองค์ โดยทรงงานถวายพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ถึงรัชกาลที่ 7 โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกิจการทหาร พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ อาทิ เสนาบดีว่าการกระทรวงยุทธนาธิการ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม
ผู้บัญชาการทหารเรือไทย นอกจากนี้ ทรงเป็นอธิบดีกรมไปรษณีย์เป็นพระองค์แรก
.
.
จอมพลสมเด็จฯ เจ้าฟ้าจักรพงษ์ภูวนาถ
กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ
ทรงเป็นหนึ่งในเจ้านายที่สำคัญในการวางรากฐานการทหารสมัยใหม่ของไทย
ร.5 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์ทรงดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการกรมยุทธนาธิการ
ต่อมาทรงย้ายไปเป็นผู้บัญชาการโรงเรียนทหารบกซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทั้งทางการปกครองและการศึกษา ภารกิจในช่วงนี้ถือเป็นช่วงเวลาของการจัดการการศึกษาวิชาทหารของสยามให้เป็นระบบมากยิ่งขึ้น เช่น มีการตั้งกรมบัญชาการโรงเรียนทหารบก รวมถึงการแบ่งส่วนราชการกองโรงเรียนทหารบกออกเป็นโรงเรียนนายร้อยชั้นประถมและชั้นมัธยม เป็นต้น
.
พลเอกหญิง ศาสตราจารย์ ดร.
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
“ทูลกระหม่อมอาจารย์”
ทรงรับราชการในตำแหน่ง อาจารย์ส่วนการศึกษา รร.จปร. เมื่อ พ.ศ. 2529
โดยทรงสอนวิชาต่างๆ ณ กองวิชากฏหมาย และวิชาสังคมศาสตร์ เช่น วิชาประวัติศาสตร์ไทย และวิชาสังคมวิทยา ต่อมา พ.ศ. 2530 ได้มีการจัดตั้งกองวิชาประวัติศาสตร์ขึ้น
จึงดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองวิชา ในฐานะข้าราชการประจำและ “ทูลกระหม่อมอาจารย์”
ท่านมาทรงงาน ณ รร.จปร. เป็นประจำสัปดาห์ละ 2 วัน เนื่องจากอีก 5 วันที่เหลือทรงปฏิบัติ
พระราชกรณียกิจเพื่อราษฎรทั้งประเทศ ท่านทรงงานการเป็นครูจนกระทั่ง
ทรงเกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2558 และตำแหน่งล่าสุดคือ
ศาสตราจารย์ส่วนการศึกษา และผู้บัญชาการพิเศษ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า
.
“การเข้าร่วมสมรภูมิรบของกองทัพไทย”
กองทัพสยามในสงตรามโลกครั้งที่ 1
(พ.ศ. 2457 -2461)
วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงประกาศสงครามระหว่างสยามกับเยอรมนี และออสเตรีย – ฮังการี
หลังจากที่พระองค์ทรงใช้เวลากว่าสามปีในการโน้มน้าวให้ประชาชน และข้าราชการ
ซึ่งสนับสนุนฝ่ายมหาอำนาจกลาง และต้องการให้สยามเป็นกลางในสงครามคราวนี้
ตระหนักว่าการเข้าร่วมสงครามกับฝ่ายพันธมิตรเป็นสิ่งที่ถูกต้อง และเป็นประโยชน์แก่สยามมากกว่าการคงสถานะความเป็นกลางของตนไว้
.
กรณีพิพาทไทย – อินโดจีน
กรณีพิพาทอินโดจีน เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรสยามกับสาธารณรัฐฝรั่งเศส ในปี พ.ศ.2436 โดยถือเป็นเหตุการณ์
ความขัดแย้งที่รุนแรงถึงขั้นวิกฤตที่ส่งผลกระทบต่อเอกราชและอธิปไตยของชาติ และความขัดแย้งได้ส่งผ่านช่วงเวลานับเนื่องต่อนี้ไป
อีกกว่าห้าสิบปีจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2
ไทบกับสงครามโลกครั้งที่ 2
ประเทศไทยได้เข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อ ค.ศ. 1941
โดยรัฐบาลภายใต้การนำของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ตกลงยินยอมให้กองทัพญี่ปุ่นใช้ประเทศไทยเป็นเส้นทางเดินทัพไปประเทศมาเลเซียและพม่า ต่อมารัฐบาลไทยได้ลงนามใน “กติกาสัญญาทางทหารระหว่างไทยกับญี่ปุ่น” และ “กติกาสัญญาพันธไมตรีระหว่างประเทศ” อันนำไปสู่การที่ไทยประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐอเมริกา
เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942
.
“กองทัพไทยในยุคสงครามเย็น”
สงครามเกาหลี
ไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียที่ส่งความช่วยเหลือไปยังเกาหลีใต้ รัฐบาลตระหนักว่าหากพรรคคอมมิวนิสต์เข้าครอบครองเกาหลี
อาจเป็นความหายนะต่อระเบียบทางการเมืองของไทย
รัฐบาลไทยจึงตัดสินใจสนับสนุนอุดมการณ์ของเกาหลีใต้อย่างเต็มที่ โดยส่งข้าว 40,000 ตันไปช่วยเหลือเกาหลีใต้ และต่อมาส่งกำลัง
ทหารราบ 1 กองพันจากกรมผสมที่ 21 (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น
กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์) และเรือรบอีกหลายลำ
ต่อมา รัฐบาลไทยส่งอากาศยานขนส่งไปช่วยหลายลำ
กรมทหารราบนี้กลับสู่ประเทศไทยในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2498
สงครามเวียดนาม
ความขัดแย้งทางการทหารระหว่างสหรัฐอเมริกากับพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนามในช่วงเวลาตั้งแต่เดือนมีนาคม ค.ศ.1965 เมื่อสหรัฐได้เปลี่ยนลักษณะของความขัดแย้งนี้โดยใช้วิธีการทิ้งระเบิดเวียดนามเหนืออย่างต่อเนื่องจนถึงการลงนามในข้อตกลงสันติภาพปารีสในเดือนมกราคม ค.ศ. 1973[1] สงครามนี้ได้เห็นถึงการเข้ามาเกี่ยวข้องของทุกมหาอำนาจในยุคสงครามเย็นซึ่งทำให้ความขัดแย้งนี้ยิ่งทวีความซับซ้อน รุนแรง และยืดเยื้อยาวนาน ประเทศไทยก็ได้มีบทบาทสำคัญในสงครามนี้ โดยการเป็นผู้สนับสนุนที่แข็งขันและเป็นฐานปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐในสมรภูมิรบเวียดนาม
.
“เครื่องแบบนักเรียนนายร้อยในอดีต”
.
“เครื่องแบบนักเรียนนายร้อยต่างประเทศ”
นักเรียนนายร้อยที่เรียนดีติดอันดับ 1- 10 สามารถเลือกเข้าศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยต่างประเทศได้ ทั้ง 10 ประเทศตามลำดับ
เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย อังกฤษ ญี่ปุ่น เยอรมัน สเปน เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส เป็นต้น
.